วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด ทำบุญวันเกิด ของตัวเอง (อานิสงส์ : พระคุ้มครอง มั่งมีศรีสุข)




สำหรับวันนี้มีบทสวดมนต์สำหรับวันเกิดของแต่ละท่านมาฝากครับ


หลังจากสวดมนต์กันแล้วก็ไปทำบุญวันเกิดกันด้วยนะครับ


ผู้เกิดวันอาทิตย์ สวดวันละ ๖ จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางถวายเนตร สวดดังต่อไปนี้น้ะครับ
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะ วิปปะภาโสตัง ตัง มะมัสสามิ หะริส สะวัณนัง ปะฐะ วิปปะภาสังตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสังเย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเมเต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุนะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยานะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เย พราหมณา เวทะคุ สัพพธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะ ริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดย สวดให้เต็มกำลัง ๖ จบเช่นเดียวกัน ว่า"อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา" ก็ได้ครับ

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเต็มที่ ทรงทอดพระเนตรดูมหาโพธิพฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลง มาประสานทับกันอยู่หน้าพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสำรวมฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ร่มมหาโพธิ์ ๗ วันแล้วก็เสด็จออกจากร่มไม้มหาโพธิ์ ไปประทับยืนกลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นมหาโพธิ์นั้นทรงทอดพระเนตร ต้นมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรด้วยพระอิริยาบถนั้นถึง ๗ วันสถานที่ประทับยืนด้วยอิริยาบถนั้นเป็นนิมิตมหามงคลเรียกว่า "อนิมิสสเจดีย์" ฯ

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันจันทร์ สวดวันละ ๑๕จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางห้ามญาติ หรือ พระปางห้ามสมุทร สวดดังนี้ครับ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปิณังอะกันตัง พุทธา นุภาเวนะ วินาสะ เมนตุฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปิณังอะกันตัง ธัมมา นุภาเวนะ วินาสะ เมนตุฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปิณังอะกันตัง สังฆา นุภาเวนะ วินาสะ เมนตุฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๑๕ จบเช่นเดียวกัน ว่า"ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง" ก็ได้ครับ

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ แบฝ่าพระหัตถ์ตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม

ตำนานปางห้ามญาติ บทสวดอภยปริตร เป็นบทที่ว่าด้วยมนต์ที่ทำให้ไม่ฝันร้ายและการให้อภัย ในตำนานกล่าวถึงเหล่าศากยวงศ์แห่งนครกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายพระพุทธบิดา และเหล่าโกลิยวงศ์ อันเป็นพระญาติฝ่ายพระพุทธมารดา เกิดวิวาทกันด้วยเหตุแย่งชิงน้ำในแม่น้ำโรหิณี
พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณ จึงแสดงพุทธปาฏิหารย์เหาะมาประทับยืนอยู่ท่ามกลางระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย พร้อมตรัสถามว่า

"ระหว่างน้ำ กับความเป็นญาติพี่น้อง สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน" กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจึงได้สำนึก ยอมยุติศึกขออภัยต่อเบื้องพระพักตร์พระพุทธองค์ แล้วกลับคืนดีกันเช่นเดิม เสมือนตื่นจากฝันร้าย

แม้ผู้ใดนอนฝันร้ายอยู่เสมอ หรือเมื่อตื่นจากฝันร้ายกลางดึก มีจิตหวั่นไหว ให้ภาวนามนต์บทนี้ อาการดังกล่าวจะหายไป ผู้ใดที่ภาวนาเป็นประจำจะนอนหลับฝันดี ไม่ตื่นตกใจฝันร้ายเลย

ตำนานปางห้ามสมุทร เมื่อพระพุทธเจ้าด้วยเหล่าสาวกเสด็จไปถึงเมืองไพศาลีฝนก็ตกห่าใหญ่ และไหลเข้าท่วมพระนคร พัดซากศพและสัตว์ ซึ่งปฏิกูลบนแผ่นดินให้ไหลไปสู่ทะเล และเย็นวันนั้น พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตร แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองไพศาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้เพื่อความสิริมงคลแก่ประชาชน

เมื่อพระอานนท์เถระได้พรมน้ำพุทธมนต์ที่ท่านตั้งจิตประกอบด้วยเมตตาระลึกถึงพุทธคุณคือบารมี ๑๐ และเจริญมนต์รัตนสูตรนี้ประชาราษฎร์ก็หายจากโรคภัย มีกำลังสดชื่น

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันอังคาร สวด ๘ จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางไสยาสน์ให้สวดบทขัดกะระณียะเมตตะสุตตะกัง ว่าดังนี้ครับ

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนังยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะเหฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๘ จบเช่นเดียวกัน ว่า

"ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท"

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา (สำเร็จสีหไสยา) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นประคองพระเศียร หลับพระเนตร เป็นกิริยาบรรทมหลับฯ เมื่อทรงเลิกจากการบำเพ็ญทุกกรกิริยา และหันมาบำเพ็ญทางจิตคืนหนึ่งในขณะบรรทมหลับ ทรงพระสุบินเป็นบุพพนิมิตร ๕ ประการ คือ:-๑. ทรงบรรทมหงายเหนือพื้นปฐพี พระเศียรหนุนภูเขาหิมพานต์ พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสมุทรในทิศตะวันออกพระหัตถ์ขวา และพระบาททั้งคู่หยั่งลงในมหาสมุทรทิศใต้ (พระมหาบุรุษจะได้ตรัสรู้ เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศในโลก) ๒. หญ้าแพรกเส้นหนึ่งออกจากพระนาภี สูงขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า (จะได้ประกาศสัจจธรรม แก่มวลเทวดาและมนุษย์) ๓. หมู่หนอนทั้งหลาย ไต่ขึ้นมาแต่พื้นพระบาททั้งคู่จนถึงพระชานุ (คฤหัสถ์ และพราหมณ์ทั้งหลายจะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์) ๔. ฝูงนก ๔ จำพวก สีเหลือง เขียว แดง และดำ บินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ลงมาจับแทบพระบาทแล้วก็กลายเป็นสีขาว(กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร เมื่อเข้าสู่สำนักก็จะเข้าถึงธรรมอันบริสุทธิ์)๕. เสด็จไปเดินจงกรม บนยอดเขาอันเต็มไปด้วยอาจม แต่อาจมนั้นมิได้เปรอะเปื้อนพระบาทแต่อย่างใด (ถึงแม้พระองค์จะสมบูรณ์ด้วยสักการะอามิสที่ชาวโลกน้อมถวายด้วยศรัทธา ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย)

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันพุธกลางวัน สวดวันละ ๑๗ จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางอุ้มบาตรให้สวด บทขัดขันธะปะริตตะคาถา สวดวันละ ๑๗ จบ ว่าดังนี้ครับ

สัพพาสี วิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะหัง วิยะ ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัม ภะฌามะเหฯ

หรือจะให้สวดด้วยหัวใจพระคถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๑๗ จบเช่นเดียวกัน ว่า

"โส มาณะ กะ ริ ถา โธ"

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติก็ทูลลากลับ มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่งจะกราบทูลถวายพระยาหารในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะก็มิได้อาราธนาด้วยทรงแน่พระทัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส ก็ต้องเสด็จมาเสวยพระกระยาหารที่พระราชนิเวศน์เป็นแน่แท้ เมื่อไม่ผู้ใดอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวย ณ ที่ใด ครั้นรุ่งเช้าจึงทรงบาตรพาภิกษุสงฆ์เสด็จไปตามท้องถนนหลวง เพื่อรับอาหารบิณฑบาตร

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันพุธกลางคืน สวดวันละ ๑๒ จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางป่าเลไลย์ สวดดังต่อไปนี้ว่า

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฎฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๑๒ จบเช่นเดียวกัน ว่า
"วา โธ โน อะ มะ มะ วา"

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสอง ทอดพระบาทน้อยๆ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุ เป็นกิริยาทรงรับ ที่นิยมเรียกว่า พระปางป่าเลไลยก์ เพราะว่ามีช้างป่าเลไลยก์และลิงร่วมอยู่ด้วย

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตารามในเมืองโกสัมพี ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกันเป็นผู้ว่ายาก วิวาทกัน ไม่อยู่ในพระโอวาท และทรงแสดงผลดี ของการเคารพเชื่อฟังในพระโอวาท ด้วยทรงประทานโสภณธรรม คือ ธรรมที่ทำให้งาม ๒ อย่าง คือ

ขันติ ความอดกลั้น และโสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตัว การอยู่ด้วยกัน ควรจะได้เพื่อนที่มีความรู้ รักษาตัวได้ มีปัญญา รักจะอยู่ร่วมกับคนดี เป็นเพื่อนร่วมทางเขาก็ควรยินดี ถ้าหากไม่ได้เพื่อนเช่นนั้น การอยู่และเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า แม้จะทรงกรุณา ตักเตือนสั่งสอนถึงขนาดนี้ แต่ว่าสงฆ์ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามัคคีกัน พระองค์จึงหลีกไปประทับอยู่ในป่าตามลำพัง โดยมีช้างชื่อเลไลยก์ และพญาลิงคอยอุปัฏฐาก

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันพฤหัสบดี สวดวันละ ๑๙ จบ
พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางนั่งสมาธิ สวดดังต่อไปนี้ว่า

ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯจิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมมันตินติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะฌามะเหฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๑๙ จบเช่นเดียวกัน ว่า

"คะ พุท ปัน ทู ทัม ภะ คะ"

ปางสมาธิเพ็ชร

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ ยกฝ่าพระบาททั้งสองหงายขึ้นมาวางบนพระเพลา พระหัตถ์ทั้งสอง ก็ยกขึ้นมาวางซ้อนกันทับฝ่าพระบาทอีกทีหนึ่ง นิยมเรียกว่าพระขัดสมาธิเพ็ชรฯ ตำนานปางนี้ไม่ปรากฏชัด ทราบแต่เพียงว่าเป็นปางประทับพักใน เวลากลางวันความจริงการนั่งท่านี้ไม่ใช่นั่งสบาย แต่น่าจะมีอะไร สักอย่างที่ทรงตั้งพระทัยทำการนั่งขัดสมาธิเพ็ชร

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันศุกร์ สวดวันละ ๒๑ จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางรำพึง สวดดังต่อไปนี้ว่า

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิปะริสานัญจะ ตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๒๑ จบเช่นเดียวกัน ว่า

"อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ"

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง ฯ เมื่อตปุสสะกับภัลลิกะทูลลาไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับยืนที่ใต้อชปาลนิโครธ และได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียด สุขุมคัมภีรภาพยากที่บุคคลจะรู้ได้ ถึงกับดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน

แต่เมื่อทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้แล้วย่อมแสดงธรรมโปรดประชากร ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาล จนถึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในการแสดงธรรม และทรงพิจารณาอีกว่า อุปนิสัยของสัตว์โลกย่อมแตกต่างกัน เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า ดอกบัวที่อยู่เหนือน้ำจักบานทันทีเมื่อสัมผัสแสงอาทิตย์ ดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ และใต้น้ำ ก็จะบานในวันต่อๆ มา แต่ดอกบัวที่อยู่ใต้โคนตม กว่าจะมีโอกาสชูดอกมาอยู่เหนือน้ำ อาจจะเป็นอาหารของเต่าและปลาไปก่อนก็ได้ เมื่อพิจารณาดังนั้น จึงทรงอธิษฐานพระทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชนฯ

บทสวดมนต์พระประจำวันคนเกิดวันเสาร์ สวดวันละ ๑๐ จบ

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางนาคปรก

สวดดังต่อไปนี้ว่ายะโตหัง ภะคินิ อะระยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชา นามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อต่อไปนี้ ก็ได้ครับ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๑๐ จบเช่นเดียวกัน ว่า

"ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ"

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุม เบื้องบนพระเศียร บางแห่งสร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพ็ชร ฯ เมื่อเสด็จประทับยืนเสวยวิมุติสุข ณ ร่มไม้ อชปาลนิโครธ 7 วันแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิกชื่อมุจจลินท์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศอาคเณย์ของต้นมหาโพธิ์นั้น บังเอิญ ในวันนั้นเกิดมีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญามุจจลินท์ นาคราชออกจากพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตรฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนลมหนาวถูกต้องพระวรกาย ฯ

สำหรับบทสวดมนต์พระประจำวันผู้ที่จำเกิดตัวเองไม่ได้ครับ สวดวันละ ๙ จบ
พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางมารวิชัย สวดดังต่อไปนี้ว่า

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณิณัง ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อต่อไปนี้ ก็ได้ครับ โดยสวดให้เต็มกำลัง ๙ จบเช่นเดียวกัน ว่า

" อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ "

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:04

    ขอบคุณคะ สำหรับความรู้เกี่ยวกับวันเกิด บล็อกดีมีประโยชน์

    ตอบลบ